เลขาธิการ ป.ป.ส. เยี่ยมเยือน และรับฟังผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ เพื่อสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา และต่อยอดงานของมูลนิธิโครงการหลวง ในด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
1 min readวันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567 พลตำรวจโท ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการ ป.ป.ส. พร้อมด้วย นางสาวอารีภักดิ์ เงินบำรุง รองเลขาธิการ ป.ป.ส. และคณะผู้บริหารสำนักงาน ป.ป.ส. ลงพื้นที่เยี่ยมเยือน และรับฟังผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
โดยมี นายประเดิม เดชายนต์บัญชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก พร้อมด้วย นายปริญญา สายโรจน์ นายอำเภอแม่ระมาด นายวัชรพงศ์ จันทิมา ปลัดอำเภอกลุ่มงานความมั่นคง นายสิงห์คาร อ้นมั่น ป้องกันจังหวัดตาก นายแพทย์สุธา ภัทรกิจรุ่งเรือง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่ระมาด พันตำรวจเอก ฐมณ์พงศ์
เพ็ชร์พิรุณ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรแม่ระมาด และนายบัญประชา ทองโชติ หัวหน้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ ให้การต้อนรับ
เลขาธิการ ป.ป.ส. และคณะ เข้ารับฟังบรรยายความเป็นมาของโครงการฯ ข้อมูลพื้นที่และสถานการณ์ปัจจุบันในพื้นที่โครงการหลวงเลอตอ เข้าเยี่ยมชมสุขศาลาเลอตอ และการให้บริการทางการแพทย์ การแจกเมทาโดน ณ รพ.สต. ห้วยโป่ง พร้อมพบปะแกนนำชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) เลอตอ พร้อมด้วยแกนนำและเครือข่ายเยาวชนเลอตอ และชุดปฏิบัติการสนับสนุนโครงการหลวง
เลอตอ หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 35 ณ ฐานปฏิบัติการเลอตอ ในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด
สำหรับโครงการหลวงเลอตอ เป็นศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ลำดับที่ 39 ในรัชกาลที่ 9 และเป็นโครงการลำดับที่ 1 ในรัชกาลที่ 10 โดยนำแนวทางการพัฒนาทางเลือกของโครงการหลวงมาใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ แก้ปัญหาการปลูกฝิ่น และฟื้นฟูต้นน้ำลำธาร ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ส. ในฐานะผู้รับผิดชอบดำเนินการแก้ไขปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ปลูกฝิ่น ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (สวพส.) และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ได้จัดทำแผนแม่บทโครงการขยายผล โครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืนครอบคลุม 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และตาก รวมถึงกระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง และดำเนินการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2561 ได้เริ่มจัดตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ สำนักงาน ป.ป.ส. จึงได้ร่วมสนับสนุนงบประมาณและกิจกรรม ในพื้นที่โครงการหลวงเลอตอ ทั้งการบำบัดรักษายาเสพติด การสร้างภูมิคุ้มกัน การพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนและเยาวชน และการป้องกันผู้เสพรายใหม่
ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ พบว่า มีผลสำเร็จ สามารถลดปัญหายาเสพติดได้ โดยสถานการณ์ลักลอบปลูกฝิ่นในพื้นที่โครงการหลวงเลอตอลดลงจากจำนวน 452.37 ไร่ ในปี 2558 – 2559 เหลือเพียง 0.22 ไร่ ในปี 2566 – 2567 สามารถพัฒนาอาชีพ ส่งเสริมการปลูกพืช ไม่ว่าจะเป็นคะน้าฮ่องกง หัวไชเท้า เสาวรส สตรอเบอรี่ กาแฟ และพืชไร่ ทำให้ชาวบ้านมีรายได้อย่างพอเพียง โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด