โครงการอบรมการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยผ่านความร่วมมีอระหว่างรัฐกับประชาชน ประจำปึงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ รุ่นที่ ๑
1 min read– พระมหากษัตริย์ไทยที่มีพระนามขึ้นต้นด้วยคำว่า “พ่อขุน” มีกี่พระองค์ ใครบ้าง
– การพรางตัวของพระมหาอุปราช ก่อนทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรนั้นทำอย่างไร
– หลักฐานในการสิ้นพระชนม์ของพระมหาอุปราชในสงครามยุทธหัตถีของพม่า กับของไทยต่างกัน ไม่เหมือนกันอย่างไร
– เบื้องหลังการจัดเลี้ยงต้อนรับมกุฏราชกุมารรัสเซียขณะเสด็จแวะประเทศไทย สมัยรัชกาลที่ 5 ทำอย่างไร จึงผูกมัดใจ จนเป็นส่วนหนึ่งทำให้เรารอดจากการตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสและอังกฤษ ฯลฯ
นี่เป็นส่วนหนึ่งของเกร็ดประวัติศาสตร์ที่ผมนำมากล่าวเพิ่มเติม นอกเหนือจากที่ได้เขียนเบื้องหลังให้ท่านได้รับว่าในตอนที่ผมได้บรรยายที่บุรีรัมย์เมื่อวันที่ 8 มกราคมมาแล้ว
นอกจากนั้น วันนี้ผมได้แนะนำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ดูวิธีการบรรยาย การนำเสนอในฐานะวิทยากร ทั้งน้ำเสียง ลีลา วิธีการเรียบเรียงการใช้ถ้อยคำ โดยให้ดูผมเป็นตัวอย่าง เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเป็นวิทยากรเมื่อได้รับโอกาสไปบรรยายในพื้นที่
เกร็ดความรู้ต่างๆ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ผม ในฐานะ “จิตอาสาพระราชทาน” และครู ก. ผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย ดีเด่น ของกระทรวงมหาดไทย ได้นำไปพูดคุยให้กับผู้เข้ารับการอบรม “วิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย และการเทิดทูนสถาบันหลักของชาติ” ตามโครงการอบรมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยผ่านความร่วมมือระหว่างรัฐกับประชาชน ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งในปีนี้มีการจัดฝึกอบรม 46 จังหวัด 547 อำเภอ 318 ตำบล ผู้เข้าร่วมอบรม1,000 คน
โดยรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 3 อบรมระหว่างวันที่ 13 -15 มกราคม 2568 ซึ่งผมได้รับมอบหมายให้เป็นวิทยากรบรรยายเป็นคนแรก วันแรก จากจำนวน 3 วันที่เข้ารับการอบรม ระหว่างเวลา 13.00 – 16.00 น. ที่โรงแรมบางกอกพาเลซ กรุงเทพมหานคร
โดยผู้เข้ารับการอบรมรุ่นนี้มีจำนวน 462 คน ซึ่งเป็นปลัดอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ กำนันผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชนจาก 27 จังหวัดภาคกลาง รวมภาคตะวันออก และตะวันตก
ประเมินผลจากการสอบถามสังเกตกิริยาอาการ สอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าอบรมแล้ว หลายคนบอกว่า
“ได้ทราบความเสียสละของพระสุพรรณกัลยา ที่ยอม จากบ้านเกิดเมืองนอนไปเป็นองค์ประกันในดินแดนของศัตรู ซึ่งไม่มีโอกาสที่จะมีชีวิตรอดกลับมาสู่เมืองไทย”
“ได้รับรู้วิธีการเรียบเรียงข้อมูลการนำเสนอ ตลอดจนกิริยาท่าทาง น้ำเสียงของวิทยากร พร้อมทั้งการกระตุ้นให้ผู้ฟังมีความสนใจ ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา”
“ได้รับรู้วิธีการที่จะนำไปบอกกล่าวให้เพื่อนร่วมงานได้รับทราบถึงความสำคัญของการฝึกอบรม และเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการทำงานราชการ หรือใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นสิ่งเล็กๆน้อยๆ ที่ไม่มีการเรียนการสอนในหลักสูตรต่างๆ ฯลฯ
”จุดแตกหักอยู่ที่ชนบทครับ“
หากคนรุ่นเราไม่ช่วยกันดูแลรักษาชาติบ้านเมืองแล้ว อนาคตน่าเป็นห่วงสำหรับรุ่นลูกหลานของเราต่อไป
ให้กำลังใจนะครับ ทุกท่านคือ ”5 เสือของกรมการปกครอง“ ที่เป็น ”เครือข่ายแท้“ มีภารกิจบทบาทหน้าที่ชัดเจนในพื้นที่แต่ละอำเภอที่ท่านรับผิดชอบซึ่งจะต้องรายงานทุกเดือน
ทุกท่านทำได้อยู่แล้วครับ.