23 ธันวาคม 2024

หนังสื่อพิมพ์ อินไซด์โปลิคไทม์ – insidepolicetime.com

นังสื่อพิมพ์ อินไซด์โปลิคไทม์ – insidepolicetime.com

7 ความเสี่ยงวัยเกษียณ ที่อาจทำให้เกษียณเศร้า

1 min read

7 ความเสี่ยงวัยเกษียณ ที่อาจทำให้เกษียณเศร้า

✨ ตอนนี้ทุกท่านน่าจะคุ้นกับคำว่า สังคมผู้สูงอายุมากขึ้นแล้วใช่ไหมครับ และด้วยวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี ถูกจัดให้เป็น วันผู้สูงอายุสากล หรือ International Day of Older Persons โดยองค์การสหประชาชาติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ ผู้เคยเป็นบุคลากรสำคัญในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ให้กับสังคมตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน

ดังนั้นวันนี้ TIPlife จึงขอนำเสนอความเสี่ยงที่วัยเกษียณไม่ควรมองข้าม เพราะสิ่งเหล่านี้ สามารถนำมาสู่ความเศร้าให้กับเราทุกคนยามเกษียณได้ครับ

👉 1. ความเสี่ยงจากการมีอายุยืน (Longevity Risk) เป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุด และเป็นความเสี่ยงที่ทำให้ความเสี่ยงข้ออื่น ๆ เพิ่มสูงยิ่งขึ้นด้วย ลองคิดดูว่าหากอายุสั้น เช่น มีชีวิตอยู่ได้เพียง 1 – 2 ปีหลังจากเกษียณ และถึงแม้ตลาดหุ้นจะเป็นขาลงยาวนานแค่ไหน หรืออัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นเป็นตัวเลข 2 หลัก ก็ไม่ส่งผลกระทบกับชีวิตเพราะอายุสั้น ตรงกันข้ามถ้ามีอายุยืนยาวจะส่งผลกระทบอย่างมาก

👉 2. ความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Risk) การวางแผนเกษียณที่ไม่ได้คำนึงถึง “เงินเฟ้อ” ถือว่าไม่ใช่แผนเกษียณที่เหมาะสม โดยเราต้องพึงระลึกไว้ทุกครั้งที่คิดเรื่องการวางแผนเกษียณว่าต้องคิดเรื่อง “ผลกระทบจากเงินเฟ้อ” ด้วย

👉 3. ความเสี่ยงจากการถอนเงินมากเกินไป (Excess Withdrawal Risk) ความเสี่ยงจากการถอนเงินออกมาใช้มากเกินไป จนส่งผลให้เงินเก็บเพื่อเกษียณหมดลงก่อนเวลาอันควร หรืออาจจะเรียกว่า “เงินหมดก่อนตาย” ก็ได้ ในสหรัฐอเมริกามีคำที่เรียกว่า Safe Withdrawal Rate หมายถึง อัตราการถอนเงินที่ปลอดภัยที่จะทำให้เงินสามารถสร้างรายได้ให้ได้นานเท่าที่ต้องการ เป็นเรื่องที่มีการศึกษากันอย่างจริงจังในสหรัฐอเมริกา

👉 4. ความเสี่ยงจากค่ารักษาพยาบาล (Health Expense Risk) เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา ก่อนที่จะตายอาจต้องผ่านด่านเจ็บป่วยก่อน ซึ่งก็ตามมาด้วยค่ารักษาพยาบาล และไม่มีใครบอกได้ว่าจะเจ็บป่วยมากน้อยและยาวนานแค่ไหน แต่จากสถิติพบว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของค่ารักษาพยาบาล หรือเรียกว่าอัตราเงินเฟ้อของค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทยสูงถึง 8 – 9%

👉 5. ความเสี่ยงจากสภาวะพึ่งพิง นอนติดเตียง (Long-Term Care Risk) เป็นความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงสุดท้ายของชีวิต เนื่องจากการเจ็บป่วยหนักจนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และอาจถึงขนาดต้องนอนติดเตียง แน่นอนว่าย่อมนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายมหาศาล เป็นภาระของคนในครอบครัว ความเสี่ยงข้อนี้ถูกพูดถึงบ่อยในสหรัฐอเมริกา เพราะจากสถิติพบว่าคนที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปี มีโอกาสตกอยู่ในสภาวะนี้สูงถึง 70%

👉 6. ความเสี่ยงที่เกิดจากความสามารถในการคิดวิเคราะห์ลดลง (Declining Cognitive Abilities Risk) ความเสื่อมของร่างกายและจิตใจเป็นธรรมดาของสังขาร แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจสร้างความเสียหายและคาดไม่ถึง มีงานวิจัยในสหรัฐอเมริกาที่แสดงให้เห็นว่าเมื่ออายุมากขึ้น ความรู้ความสามารถจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะความสามารถในการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ

👉 7. ความเสี่ยงจากการถูกล่อลวงทางการเงิน (Financial Elder Abuse Risk) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่ลดลงจากความเสื่อมถอยของร่างกายและจิตใจ ไม่เพียงเท่านี้ยังมีความเสี่ยงที่มักจะเกิดกับผู้สูงวัย คือ การถูกหลอกลวงทางการเงิน ซึ่งพบเห็นตามข่าวอยู่เป็นระยะ ๆ ดังนั้น การเป็นผู้สูงวัยที่มีเงินก้อน เป็นความเสี่ยงที่อาจจะถูกล่อลวงได้ เป็นกลุ่มบุคคลเป้าหมายของ 18 มงกุฎ ทั้งจากบุคคลภายนอก ไม่เว้นแม้แต่บุคคลในครอบครัว

ความเสี่ยงสามารถจัดการได้ด้วยการวางแผนที่เหมาะสม ดังนั้นลองใช้เวลาช่วงวันอาทิตย์แบบนี้ วางแผนจัดการความเสี่ยงแต่ละข้อตามแบบฉบับของแต่ละท่านเพื่อหาแผนที่เหมาะสมและลงมือทำกันครับ หรือถ้าหากท่านใดสนใจให้ทาง TIPlife วางแผนจัดการให้ สามารถติดต่อเข้ามาได้เสมอนะครับ

TIPlife Smart Pension 90/2 ประกันชีวิตบำนาญ เหมาะสำหรับคนที่วางแผนชีวิตในระยะยาว ชำระเบี้ยระยะสั้น มีเงินใช้หลังเกษียณ รับเงินบำนาญสูงถึงปีละ 15%* แถมยังใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท** สมัครง่าย ไม่ต้องตรวจและไม่ต้องตอบปัญหาสุขภาพ

คลิก!! 👉 bit.ly/TIPLIFESmartPension90-2

ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯกำหนด
* เป็น % ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
** หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด

ที่มา: www.finnomena.com/techtoro/7-risks-retirement/
#TIPlife #ThePowerBesideYou
#พลังที่เคียงข้างคุณตลอดไป #ทิพยประกันชีวิต
#ContentProduct #SmartPension

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You may have missed