11 มกราคม 2025

หนังสื่อพิมพ์ อินไซด์โปลิคไทม์ – insidepolicetime.com

นังสื่อพิมพ์ อินไซด์โปลิคไทม์ – insidepolicetime.com

1 min read

ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธุ์ ผบช.สตม., พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.ปิยะอนันต์ โตสกุลวงศ์ ผบก.ตม.1, พ.ต.อ.ภาสกร รัตนปนัดดา รอง ผบก.ตม.1 และ พ.ต.อ.กาจภณ ปฐมัง ผกก.สืบสวน บก.ตม.1 ร่วมแถลงข่าวการจับกุมผู้ต้องหารายสำคัญ ดังนี้ กก.สืบสวน บก.ตม.1 รวบผัวเมียไต้หวันสุดแสบ ตีเนียนเปลี่ยนสัญชาติหนีคดีฉ้อโกงระดับตำนาน แห่งยุค Y2K ความเสียหายกว่า 4,000 ล้านบาท สตม. ได้รับการประสานงานจากสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย กรณี ผู้ต้องหาตามหมายจับของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) 2 รายสำคัญ คือ MR.GOLDEN นามสมมติ อายุ 64 ปี สัญชาติจีน (ไต้หวัน) และ MRS.MIUKI ภรรยา อายุ 57 ปี ร่วมกับพวกมากกว่า 10 คนซึ่งถูกจับกุมก่อนหน้านี้ ก่ออาชญากรรมหลอกลวงประชาชน และหลบหนีออกนอกประเทศเป็นเวลามากกว่า 20 ปี บก.ตม.1 จึงได้สั่งการให้ ชุดสืบสวนเฝ้าติดตามสืบสวนหาข่าวจนพบเบาะแสว่า MR.GOLDEN และ MRS.MIUKI เดิมเป็นชาวจีน (ไต้หวัน) หลบหนีหมายจับมาพำนักในประเทศไทย แต่ได้คิดอุบายในการปกปิดตัวตน โดยได้เดินทางไปประเทศเบลีซ (Belize) ซึ่งเป็นประเทศขนาดเล็กริมทะเลแคริบเบียน ทวีปอเมริกาเหนือ จนได้รับสัญชาติและหนังสือเดินทางของประเทศเบลีซ เปลี่ยนชื่อและนามสกุลใหม่ เพื่อให้ยากต่อการระบุตัวตนและการติดตามตัวของเจ้าหน้าที่ จากนั้นจึงเดินทางเข้าประเทศไทยในวันที่ 18 ก.ค.61 โดยใช้หนังสือเดินทางประเทศเบลีซ และได้ยื่นคำร้องขอเปลี่ยนการตรวจลงตราเป็นประเภท PE โดยเป็นสมาชิก THAILAND PRIVILEGE CARD บก.ตม.1 จึงได้ดำเนินการเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร และสืบสวนหาข่าว จนทราบว่าทั้งคู่หลบซ่อนตัวอยู่ในคอนโดหรูแห่งหนึ่งย่านบางนา จึงได้ทำการเฝ้าติดตามสะกดรอยจนพบ MR.GOLDEN และ MRS.MIUKI เป็นบุคคลเดียวกันกับบุคคลตามหมายจับสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และถูก เพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทย ขณะกำลังพยายามหลบหนีที่บริเวณลานจอดรถคอนโดมิเนียมดังกล่าว จึงแสดงตน เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจและขอทำการตรวจสอบ ผู้ต้องหาทั้งสองคนรับว่าตนเป็นบุคคลที่ถูกเพิกถอนการอนุญาต ให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยจริง โดยในขณะถูกเจ้าหน้าที่ตรวจสอบนั้น บุคคลต่างด้าว ทั้งสองได้มีการจองตั๋วเครื่องบินโดยสาร และเก็บสัมภาระเตรียมเดินทางไปสาธารณรัฐสิงคโปร์ แต่มาถูกจับกุมตัวเสียก่อน ปิดฉากการหลบหนีความผิดยาวนานกว่า 20 ปี สำหรับพฤติการณ์เบื้องหลังของการกระทำความผิดอันเป็นที่มาของการออกหมายจับของทางการสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ในครั้งนี้นั้น เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2543 MR.GOLDEN และ MRS.MIUKI ได้ร่วมกับพวกเปิดบริษัท Lien-Chin-Wen holding company รู้จักกันในยุคนั้นในชื่อ บริษัท Richmon โดยกล่าวอ้างต่อสาธารณชนว่าบริษัท Richmon เป็นบริษัทลูกที่ก่อตั้งโดยธนาคาร Richmon ซึ่งอยู่ภายใต้องค์กรเจนีวายุโรป (Europe Geneva Corporation) ซึ่งเป็นเครือบริษัทการเงินการธนาคารที่มีความน่าเชื่อถือในระดับสากล โดยอ้างว่าเป็นบริษัทที่ได้รับเอกสิทธิ์จากธนาคาร Richmon ในการควบคุมผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เช่น การซื้อขาย แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Currency Futures) และยังใช้วิธีการระดมทุนโดยการรับประกันผลตอบแทนต่อปี และ ได้ใช้วิธีนี้ในการดึงดูดนักลงทุน ซึ่งในระหว่างการลงทุน นักลงทุนจะได้รับใบแจ้งยอดกำไรขาดทุนที่บริษัทได้คำนวณไว้ให้ทุกๆ 2 เดือน โดยสร้างงบการเงิน และงบกำไรขาดทุนปลอม ให้ปรากฏว่าในทุกๆ 2 เดือน มีผลกำไรมากกว่า 4% หรือคิดเป็นก็คืออัตราผลตอบแทนที่ได้รับมากกว่า 24% ต่อปี แต่อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2544 MR.GOLDEN กับพวก กลับแจ้งต่อผู้ลงทุนว่าบัญชีบริษัท Richmon ที่ตั้งอยู่ในสาธารณรัฐลัตเวีย (Latvia) ถูกอายัด ทำให้นักลงทุนไม่มีช่องทางในการเรียกร้องค่าเสียหายและต้นทุนกลับคืนมา แต่จากการตรวจสอบพบว่าองค์เจนีวายุโรป (Europe Geneva Corporation) และธนาคาร Richmon นั้น ไม่มีอยู่จริง แต่เป็นการหลอกลวงครั้งใหญ่ระดับชาติ รวมแล้วมีเหยื่อผู้หลงเชื่อร่วมลงทุนกว่า 4,000 คน และ มียอดเงินลงทุนสูงถึง 114 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 4,000 ล้านบาท ทั้งนี้หลังการจับกุม เจ้าหน้าที่ ชุดสืบสวนและหัวหน้าแผนกประสานงานอาชญากรรมประจำประเทศไทยกองบัญชาการตำรวจสืบสวนอาชญากรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติไต้หวัน ได้ร่วมทำการสอบสวนขยายผลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้มา รวมถึงขั้นตอนการส่งตัวกลับสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และนำตัวส่ง กก.3 บก.สส.สตม. เพื่อดำเนินการ ตามกฎหมายต่อไป นอกจากนี้ ในห้วงระหว่างวันที่ 7-21 มิ.ย.66 76 ผบช.สตม. และ พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ รอง ผบช.สตม. ได้สั่งการให้ทุกหน่วยในสังกัด สตม. ระดมกวาดล้างคนต่างด้าว ที่กระทำผิดกฎหมายโดยเน้นจับกุมคนต่างด้าวที่อยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุด (Overstay) โดยทุกหน่วยใน สตม. ได้ดำเนินการตรวจสอบบุคคลต่างด้าวที่มาขออยู่ต่อในราชอาณาจักรจำนวนทั้งสิ้น 10,701 ราย พบว่าเป็นบุคคลต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุด (Overstay) จำนวน 861 ราย จึงได้จับกุมส่งพนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมายต่อไป รวมทั้งยังได้จับกุมบุคคลต่างด้าวที่หลบหนีเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตได้อีกจำนวน 764 ราย และจับกุมในข้อหาช่วยเหลือซ่อนเร้นบุคคลต่างด้าวฯ จำนวน 15 ราย

ภายใต้การอำนวยการของ...

You may have missed