12 มกราคม 2025

หนังสื่อพิมพ์ อินไซด์โปลิคไทม์ – insidepolicetime.com

นังสื่อพิมพ์ อินไซด์โปลิคไทม์ – insidepolicetime.com

ไทยร่วมลงมติเปลี่ยนแปลงขอบเขตการควบคุมสารตามอนุสัญญาการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ 23 รายการ ในการประชุม CND สมัยที่ 67

1 min read

เมื่อวันอังคารที่ 19 มีนาคม 2567 เวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติกรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมายให้ นายธนากร คัยนันท์ ที่ปรึกษาการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เข้าร่วมการลงมติเปลี่ยนแปลงขอบเขตการควบคุมสารตามอนุสัญญาการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศในการประชุมสมัยสามัญในห้วงการประชุม CND สมัยที่ 67 ทั้ง 3 ฉบับ โดยมี นายวิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (สำนักงาน อย.) เป็นผู้แทนในการลงมติ ซึ่งที่ประชุมฯ มีมติเพิ่มรายการสาร จำนวน 23 รายการ ในการควบคุมตามอนุสัญญายาเสพติดระหว่างประเทศ ได้แก่
Butonitazene ในบัญชีที่ 1 ของอนุสัญญาฯ ปี ค.ศ. 1961
3-Chloromethcathinone (3-CMC), Dipentylone และ
2-fluorodeschloroketamine ในบัญชีที่ 2 และBromazolam ในบัญชีที่ 4 ของอนุสัญญาฯ ปี ค.ศ. 1971
รวมทั้งสารตั้งต้นที่สามารถนำไปผลิตยาเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีน ยาอี MDMA เฟนทานิลได้ ให้อยู่ภายใต้การควบคุมในบัญชีที่ 1 ของอนุสัญญาฯ ปี ค.ศ. 1988

ทั้งนี้ ผลจากการลงมติเพิ่มรายการสารภายใต้การควบคุมระหว่างประเทศนี้ จะได้นำไปสู่การพิจารณาเพิ่มรายการสารดังกล่าวในการควบคุมตามกฎหมายภายในประเทศไทยต่อไป

ในห้วงการประชุม CND สมัยที่ 67 ที่ปรึกษาการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ได้กล่าวสนับสนุนเอกสารผลลัพธ์การประชุมระดับสูงของการประชุม CND สมัยที่ 67 ที่เน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศในทุกระดับ การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล นวัตกรรมทางเทคโนโลยี การเพิ่มศักยภาพและการจัดสรรทรัพยากรระหว่างกัน พร้อมเสนอให้นานาชาติทำงานใกล้ชิดกับองค์การระหว่างประเทศ อย่างองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) และคณะกรรมการยาเสพติดระหว่างประเทศ (International Narcotics Control Board : INCB) ในการแจ้งเตือนและเตรียมการรับมือกับการเพิ่มขึ้นของยาเสพติดโดยเฉพาะยาเสพติดสังเคราะห์ ตลอดจนการลดช่องว่างขีดความสามารถของประเทศสมาชิกในการรับมือความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของเทคโนโลยีที่เพิ่มโอกาสของอาชญากรรมยาเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับสังคมออนไลน์

และนายวิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการ อย. ร่วมกล่าวถ้อยแถลงในการประชุมดังกล่าวย้ำถึงการดำเนินการของไทยให้เป็นไปตามพันธกรณีที่มีต่ออนุสัญญาการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศทั้ง 3 ฉบับ จะการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการขึ้นทะเบียนวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทชนิดใหม่ให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานสากล รวมถึง การจัดให้มียาทางการแพทย์ที่มีส่วนประกอบของยาเสพติดอย่างเพียงพอและทั่วถึง โดยสนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนในการวิจัยและผลิตยาให้เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งในประเทศไทยและในระดับภูมิภาคอาเซียน

จากนั้น นายธนากร คัยนันท์ ที่ปรึกษาการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เข้าร่วมกล่าวเปิดกิจกรรมคู่ขนานหัวข้อ “Joining International Efforts on Alternative Development” ซึ่งจัดขึ้นโดย เปรู โดยกล่าวว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาของการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาทางเลือก (United Nations Guiding Principles on Alternative Development: UNGPs on AD) รวมถึงความร่วมมือระหว่างไทย เยอรมนี และเปรู ในการผลักดัน UNGPs on AD สู่การปฏิบัติ และเน้นย้ำบทบาทของไทยในการส่งเสริมการใช้มาตรการการพัฒนาทางเลือกเพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดโลกอย่างยั่งยืน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *