ศุลกากรคุมเข้มจับกุมสินค้าผิดกฎหมาย มูลค่ากว่า 37.19 ล้านบาท
1 min readผู้สื่อข่าว
หนังสือพิมพ์
อินไชด์โปลิศ์ไทม์
รายงานจาก
เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2567
3. การลักลอบนำเงินตราข้ามพรมแดน
ด่านศุลกากรอรัญประเทศ ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานศุลกากรภาคที่ 1 ได้ทำการจับกุมผู้กระทำความผิดในการลักลอบนำเงินตราเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้แจ้งรายการเกี่ยวกับเงินตราต่อพนักงานศุลกากร ขณะเดินทางผ่านด่านพรมแดนบ้านคลองลึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เป็นชายสัญชาติกัมพูชา ลักลอบนำเข้าธนบัตรไทยชนิด 1,000 บาท จำนวน 600 ฉบับ รวมเป็นเงิน 600,000 บาท ต่อมาเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2567 ได้ทำการจับกุมหญิงสัญชาติอินโดนีเซีย ลักลอบนำเข้าธนบัตรไทยชนิด 1,000 บาท จำนวน 280 ฉบับ และธนบัตรต่างประเทศ สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐชนิด 100 ดอลลาร์สหรัฐ จำนวน 80 ฉบับ รวมเป็นเงิน 554,000 บาท
กรณีนี้เป็นความผิดฐานพยายามนำเงินตราไทยเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่แจ้งรายการเกี่ยวกับเงินตราต่อพนักงานศุลกากรในขณะผ่านศุลกากร เป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 242 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 และเป็นการฝ่าฝืนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 6)
สำหรับในปีงบประมาณ 2567 (1 ตุลาคม 2566 – 18 กันยายน 2567) กรมศุลกากรมีสถิติการจับกุมการลักลอบนำเงินตราเข้ามาในราชอาณาจักร ทั้งสิ้น 46 คดี มูลค่ารวม 111,574,000 บาท
4. น้ำมันดีเซล
เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2567 ด่านศุลกากรกันตัง ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานศุลกากรภาคที่ 5 ได้ทำการตรวจค้นรถบรรทุกน้ำมัน บริเวณสาย 415 ตำบลนาบินหลา อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
พบน้ำมันดีเซล จำนวน 13,000 ลิตร มูลค่า 349,058 บาท มีเมืองกำเนิดต่างประเทศ และไม่พบเอกสารหรือหลักฐานการผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง
กรณีนี้เป็นความผิดตามมาตรา 246 ประกอบมาตรา 166 และมาตรา 167 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560
สำหรับในปีงบประมาณ 2567 (1 ตุลาคม 2566 – 17 กันยายน 2567) กรมศุลกากรมีสถิติการจับกุมการลักลอบนำน้ำมันเข้ามาในราชอาณาจักร ทั้งสิ้น 307 คดี ปริมาณ 194,768 ลิตร
มูลค่ารวม 5,621,188 บาท
5. ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (ตามอนุสัญญาบาเซล)
เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2567 สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ ตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์ต้องสงสัย ต้นทางจากสหราชอาณาจักร จำนวน 1 ตู้ สำแดงสินค้า MIXED METALS ตรวจพบเป็น ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์บดย่อย อาทิ เศษแผงวงจรไฟฟ้า (PCB) เศษพลาสติก เศษโลหะ จำนวน 20 ถุง น้ำหนัก 22,958 กิโลกรัม มูลค่า 999,629.11 บาท
กรณีเป็นความผิดฐานนำของที่ผ่านหรือกำลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร โดยการสำแดงชนิดของและพิกัดอัตราอากรเป็นเท็จ อันเป็นความผิดฐานสำแดงเท็จหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อจำกัด ตามมาตรา 202 มาตรา 244 ประกอบมาตรา 252 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ประกอบประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 ประกอบประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามา ในราชอาณาจักร พ.ศ. 2563
สำหรับในปีงบประมาณ 2567 (1 ตุลาคม 2566 – 17 กันยายน 2567) กรมศุลกากรมีสถิติการจับกุมการขยะอิเล็กทรอนิกส์(ตามอนุสัญญาบาเซล) ทั้งสิ้น 63 คดี ปริมาณ 3,275 กิโลกรัม มูลค่ารวม 2,713,033 บาท